วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบทดสอบบทที่ 3 (พันธะเคมี)

แบบทดสอบ

พันธะเคมี


1.เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย     
ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   
ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก  


2.สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
ก. เป็นกลาง     
ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      
ค. เป็นกรด       
ง. เป็นเบส

3.กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย
ก. A-B , B-X , X-Y    
ข. A-Y , B-X , A-X     
ค. Y-B , A-Y , A-X    
ง. A-X , B-Y , A-Y
 

4.ถ้า A , B และ C เป็นสารโคเวเลนต์ 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดมีสถานะเป็นของเหลว โมเลกุลของสาร Aและ B มีขั้ว ส่วนโมเลกุลของสาร C ไม่มีขั้ว สารใดสามารถละลายน้ำได้
ก. สาร C       
ข. สาร A และ C      
ค. สาร A เเละ B       
ง. สาร B และ C


5.จงระบุว่าสารในข้อใดละลายน้ำได้
1) 
แคลเซียมคลอไรด์                 
2แอมโมเนียมซัลเฟต      
3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
4) ไอร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์      
5) โพแทสเซียมฟอสเฟต
ก. 1 2 3      
ข. 1 2 5      
ค. 2 3 4       
ง. 2 3 5

6.เพราะเหตุใด อโลหะจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก          
ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก          
ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย


7.ธาตุที่เกิดพันธะไอออนิกกับออกซิเจนได้ดีที่สุด คือ ข้อใด
ก. กำมะถัน      
ข. คลอรีน        
ค. ดีบุก
ง. โซเดียม

8.X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก           
ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก  
ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า


9.เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq)             H1 = 701.2 kJ/mol
2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq)  H2 = 684.1 kJ/mol
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด

ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol           
ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol              
ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol



แบบทดสอบบทที่ 2 (อะตอมเเละสมบัติของธาตุ)

แบบทดสอบ

อะตอมเเละสมบัติของธาตุ




1.ข้อความต่อไปนี้ ข้อใด ไม่ถูกต้อง
ก. ออร์บิทัลชนิด d จะเริ่มมีในระดับพลังงาน n = 3
ข. ระดับพลังงานย่อย f ในระดับพลังงาน n = 3 มีจำนวน 7 ออร์บิทัล
ค. ในระดับพลังงาน n = 3 มีจำนวนออร์บิทัลทั้งหมด 9 ออร์บิทัล
ง. ในระดับพลังงาน n = 4 มีจำนวนพลังงานย่อย 4 ระดับ


2.ธาตุในข้อใดมีสมบัติสอดคล้องกับข้อมูลต่อไปนี้

       1. อะตอมของธาตุนี้ในสถานะพื้นมีจำนวนอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 ตัว
       2. สูญเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายที่สุดในคาบ
       3. มีเลขอะตอมมากว่า 31 แต่น้อยกว่า 46
ก.  เลขอะตอม 35A  
ข.  เลขอะตอม 37D
ค.  เลขอะตอม 39E
ง.  เลขอะตอม 41G


3.พิจารณา electron configuration ของธาตุสมบัติต่อไปนี้
      A : [Ar] 4s2  3d10  4p3
      B : [Ar] 4s2  3d10  4p6
      C : [Kr] 5s2  4d10  5p3
      D : [Kr] 5s2  4d10  5p6
ธาตุใดอยู่ในหมู่เดียวกัน (PAT-2 ต.ค. 54)
ก. A , B
ข. B , C
ค. B , D
ง. A , C

4.ข้อใดถูกเกี่ยวกับพลังงานไอออไนเซชัน ลำดับที่ 1 ของตารางธาตุแต่ละคู่
ก. 1H มีค่ามากกว่า 2He
ข. 11Na มีค่ามากกว่า 12Mg
ค. 18Ar มีค่ามากกว่า 19K 
ง. 18Ar มีค่ามากว่า 10Ne

5.ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ [CoCl4]2- (สีน้ำเงิน) และ [Co(H2O)6]2+ (สีชมพู) มีสีต่างกัน 
ก. ประจุแตกต่างกัน
ข. โครงสร้างแตกต่างกัน
ค. ชนิดของหมู่ที่ล้อมรอบอะตอมกลางแตกต่างกัน
ง. จำนวนหมู่ที่ล้อมรอบอะตอมกลางแตกต่างกัน

6.จากการศึกษาสารประกอบเชิงซ้อนชนิดหนึ่งพบว่า 1 โมเลกุลประกอบด้วย 
Co(III) 1 ไอออน , Br- 3 ไอออน และ H2O 6 โมเลกุล สารนี้เกิดไอโซเมอร์ขึ้น
หลายไอโซเมอร์โดยบางไอโซเมอร์ H2O ทำหน้าที่เป็นหมู่ที่มาล้อมรอบ เช่น
 [Co(H2O)6]Br3 บางไอโซเมอร์ H2O ทำหน้าที่เป็นน้ำผลึก 
เช่น [CoBr3(H2O)3].3H2O (H2O ที่อยู่นอกวงเล็บทำหน้าที่เป็นน้ำผลึก)
 โดยน้ำผลึกนี้จะถูกทำให้ระเหยไปได้ โดยอบสารที่อุณหภูมิ 120 C ในขณะที่ 
H2O ที่เป็นหมู่ที่มาล้อมรอบจะไม่ระเหยไปที่อุณหภูมินี้ นักเรียนคนหนึ่ง
ทำการสังเคราะห์สารประกอบเชิงซ้อนนี้พบว่าได้ของผสมไอโซเมอร์ต่างๆ 
ออกมา แล้วทำการไอโซเมอร์ต่างๆ โดยใช้เทคนิคทางเคมี นักเรียนคนนี้
พยายามทำการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับสูตรของไอโซเมอร์ต่างๆโดยใช้
อุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อน วิธีการใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุด 
ก. โครมาโทกราฟี
ข. กรอง
ค. การให้ความร้อน 
ง. การตกผลึก



7. ผลึกไอออนิกแตกหักเมื่อมีแรงเข้าไปกระทำเพราะเหตุใด
ก. ประจุชนิดเดียวกันผลักกัน
ข. อิเล็กตรอนหลุดออกจากผลึก
ค. จำนวนประจุบวกและลบไม่เท่ากัน
ง. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วขึ้น เนื่องจากมีพลังงานจลน์มากขึ้น



8.ธาตุ X มีเลขอะตอม 53 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้

      1. X รวมตัวกับโลหะปรอทแล้วจะมีสูตรเคมีเป็น Hg2X2
      2. X เมื่อเป็นไอออนจะมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 2  8  18  18  8
      3. X เมื่อเป็นไอออนจะมีรัศมีไอออนเล็กกว่าไอออนของธาตุที่มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 
          2  8  18  18  8  1
ข้อใดถูกต้อง
ก. 1 และ 2
ข. 2 และ 3
ค. 1 และ 3
ง. 2

9.ข้อใดผิดเกี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone paired electron) ของอะตอมกลางในโมเลกุลใดๆ 
ก. มีผลต่อโครงสร้างของโมเลกุล
ข. ทำให้หลุดจากโมเลกุลยากกว่าอิเล็กตรอนตัวอื่น
ค. เป็นตำแหน่งที่เกิดแรงกระทำกับไอออนบวก
ง. ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างพันธะของโมเลกุล

แบบทดสอบบทที่ 1 (ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี)

  แบบทดสอบ

เรื่อง ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี


1.ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 
ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทำในที่โล่ง ระบายอากาศดี
ค. สารเคมีทุกชนิด ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี 
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 


2.ข้อใดแนวทางการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย 
ก. เก็บรักษาตามคำแนะนำใน MSDS 
ข. สถานที่เก็บควรปิดสนิทมิดชิด ไม่ควรให้มีอากาศถายเทสู่ภายนอก 
ค. เพื่อประหยัดพื้นที่ควรวางขวดสารเคมีซ้อนกัน โดยภาชนะขนาดใหญ่ไว้ชั้นลางสุด 
ง. ถูกทุกข้อ

 
3.ข้อใดเป็นมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากสารเคมีอันตรายที่ดีที่สุด 
ก. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ 
ข. สวมใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ทำงานกับสารเคมี 
ค. ยกเลิกการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย หรือเปลี่ยนไปใช้สารชนิดอื่นที่ปลอดภัยกว่า
. จัดทำเอกสารความปลอดภัยสารเคมีให้พร้อมใช้ตลอดเวลา  


4.เมื่อสารเคมีหกใส่ร่างกายหรือกระเด็นเข้าตา ต้องทำอะไรเป็นสิ่งแรก 
ก. รีบไปพบแพทย์ทันที 
ข. อาบน้ำ หรือล้างตาด้วยน้ำ นานอย่างน้อย 15 นาที 
ค. รีบรายงานให้หัวหน้าห้องปฏิบัติการทราบ 
ง. แจ้งผู้ร่วมงาน 



5.ข้อใดต่อไปนี้ห้ามทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งโดยตรง 
ก. สารไวไฟ 
ข. สารตัวทำละลาย 
ค. สารไวปฏิกิริยากับน้ำ เช่น โลหะโซเดียม 
ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 

6.การกระทำในข้อใดเหมาะสมที่สุด 

ก. นักศึกษาระดับปริญญาตรีพบว่าภาชนะบรรจุโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ ชำรุด      จึงเปลี่ยนภาชนะใหม่โดยใส่ในถุงพลาสติกใสเพื่อให้มองเห็นสภาพสารที่อยู่ข้างใน และติดฉลากตาม        ระบบ GHS

ข. นักวิทยาศาสตร์วางกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและโซเดียมไซยาไนด์ไว้ในตู้ดูดควันส่วนตัว เพราะใช้            สารเคมีสองชนิดนี้ทุกวัน 

ค. ห้องปฏิบัติการ A จัดเก็บสารเคมีเป็นกลุ่ม ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารออกซิไดซ์ สารที่เป็น                อันตรายต่อสุขภาพ 

ง. ผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอกใช้ถาดก้นแบนรองรับสารเคมีที่เป็นของเหลวปริมาตร 2.5 ลิตร เพราะไม่มี            เวลาไปซื้อภาชนะรองรับใหม่


7.ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บของเหลวไวไฟในตู้เก็บสารไวไฟ 

ก. เพื่อหาของเหลวไวไฟได้ง่ายขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ 

ข. เพื่อไม่ให้ของเหลวไวไฟหกรั่วไหลออกมาภายนอกตู้ 

ค. เพื่อป้องกันสารเคมีจากไฟไหม้ภายนอก

 ง. ถูกทุกข้อ


8.ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อทำงานกับสารเคมี 

ข. สวมรองเท้าเมื่อทำงานกับสารเคมี

 ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองทำน้อยๆ ดูก่อน 

ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา


9.วิธีใดเหมาะสมที่สุด สำหรับการต้มสารละลายเมทานอล 

ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน 

ข. ต้มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ 

ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ำตั้งบนตะเกียงบุนเสน 

ง. ต้มบน hot plate 

บทที่ 3 พันธะเคมี

  พันธะเคมี


สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฏออก

            เวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุอาจแสดงด้วยจุด  สัญลักษณ์ที่แสดงธาตุและเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุ เรียกว่า สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส ซึ่งเสนอโดย กิลเบริร์ต นิวตัน ลิวอิส
                 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสใช้จุดแสดงจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนรอบสัญลักษณ์ของธาตุ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส

                 กฎออกเตต
การที่อะตอมของธาตุต่างๆ รวมตัวกันด้วยสัดส่วนที่ทำให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 นี้นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งเป็นกฎเรียกว่ากฎออกเตต
ข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าอะตอมของธาตุต่าง ๆ มักจะรวมตัวกันเป็นสารประกอบเพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต
ซึ่งจะทำให้สารประกอบนั้นอยู่ในสภาพที่เสถียรเช่น H2O, PCl3, NH3, CO2 แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการศึกษาให้กว้างขวางออกไป
ก็พบว่าสารประกอบบางชนิดมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามกฎออกเตต บางชนิดมีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 8
และบางชนิดมีเวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ซึ่งสารต่างๆ เหล่านี้แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามกฎออกเตต แต่ก็อยู่ในภาวะที่ไม่เสถึยร
จัดว่าเป็นข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.พวกที่ไม่ครบออกเตต
ได้แก่สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ ที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 4 เช่น 4Be และ 5B
4Be = 2 , 2 เวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2
5B = 2 , 3 เวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 3
ธาตุ Be และ B เมื่อเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ทั่ว ๆ ไปจะไม่ครบออกเตต
2.พวกที่เกินกฎออกเตต
ตามทฤษฎีสารประกอบของธาตุที่อยู่ในคาบที่ 3 ของตารางธาตุเป็นต้นไป สารมารถสร้างพันธะแล้วทำให้อิเล็กตรอนเกิน 8 ได้ (ตามกฎการจัดอิเล็กตรอน 2n2 ในคาบที่ 3 สามารถมีอิเล็กตรอนได้เต็มที่ถึง 18 อิเล็กตรอน) นอกจากสารประกอบที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีสารประกอบอื่น ๆ อีกบางชนิดซึ่งไม่เป็นไปตามกฎออกเตต เช่น ออกไซด์บางตัวของธาตุไนโตรเจน ( NO และ NO2 )และออกไซด์ของคลอรีน (ClO2) เป็นต้น ธาตุเหล่านี้ (N และ Cl) สามารถมีอิเล็กตรอนที่ไม่ได้จับคู่ หรืออิเล็กตรอนเดี่ยว (Unpaired electron) ซึ่งทำให้แสดงสมบัติเป็น paramagnetic ได้สารประกอบอื่นๆ สามารถตรวจสอบว่าเป็นไปตามกฎออกเตตหรือไม่ ทำได้โดยนับอิเล็กตรอนจากอะตอมกลางดังนี้นับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมกลางของธาตุนั้นๆ นับจำนวนแขนที่เกิดกับอะตอมกลาง นับประจุลบของไอออนนั้นๆ

พันธะไอออนิก

พันธะไอออนิก(Ionic bond) คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสาร โดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ ให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออนไนเซชันสูง กลายเป็นไอออนที่มีประจุบวกและประจุลบ เมื่อไอออนทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงระหว่างประจุไฟฟ้าตรงข้ามเหล่านั้น ทำให้ไอออนทั้งสองยึดเหนี่ยวกันด้วย พันธะเคมีที่เรียกว่า “พันธะไอออนิก”
การเกิดพันธะไอออนิก
          นักวิทยาศาสตร์พบว่าแก๊สเฉื่อยสามารถอยู่เป็นอะตอมอิสระและมีเสถียรภาพสูง ธาตุหมู่นี้มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 
ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ ยกเว้นฮีเลียมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ ส่วนธาตุอื่นๆ มักทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสารประกอบเพื่อจะปรับให้มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น เท่ากับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อย แสดงว่าอะตอมที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ เป็นสภาพที่เสถียรที่สุด การที่อะตอมของธาตุต่างๆ รวมกันด้วยสัดส่วนที่ทำให้อะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ นี้เรียกว่า กฎออกเตต

โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก
          สารประกอบไอออนิกที่ปรากฎอยู่ในสถานะของแข็งมีการจัดเรียงตัวของไอออนบวกและไอออนลบเกิดเป็นผลึกที่มีโครงสร้างหลากหลายมีไอออนบวกและไอออนลบล้อมรอบซึ่งกันและกันแต่อาจมีจำนวนแตกต่างกัน จะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของจำนวนประจุ ขนาดของไอออนและโครงสร้างผลึก

การเขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
          เราทราบแล้วว่าสารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกกับไอออนลบยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า ในการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิกจึงต้องทราบว่าแต่ละธาตุที่ทำปฏิกิริยากันนั้นจะเกิดเป็นไอออนชนิดใด และมีจำนวนประจุเท่าใด ซึ่งพิจารณาได้จากการจัดอิเล็กตรอนของธาตุ

พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก
          การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเกิดขึ้นด้วย นักเรียนคิดว่าเมื่อโลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีนเกิดเป็นโซเดียมคลอไรด์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างไร
          การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดสารประกอบไอออนิก วิธีการหนึ่งอาจพิจารณาจากวัฎจักรบอร์น-ฮาร์เบอร์ ซึ่งพัฒนาโดยแมกซ์ บอร์น และฟริตซ์ฮาเบอร์ โดยการตั้งสมมติฐานว่าการเกิดสารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่งๆ มีหลายขั้น ในแต่ละขั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานเกิดขึ้นด้วย เราจะพิจารณาการเกิดโซเดียมคลอไรด์จากปฏิกิริยาระหว่างโลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1.การระเหิดของโซเดียม โลหะโซเดียมสถานะของแข็งระเหิดกลายเป็นอะตอมในสถานะแก๊ส ใช้พลังงาน 107 กิโลจูลต่อโมลของโซเดียมอะตอม เรียกพลังงานในขั้นนี้ว่า พลังงานการระเหิด

2.การสลายพันธะของแก๊สคลอรีน โมเลกุลของแก๊สใช้พลังงาน 122 กิโลจูลต่อโมลอะตอมของคลอรีน เรียกพลังงานในขั้นนี้ว่า พลังงานการสลายพันธะ

3.การแตกตัวเป็นไอออนของโซเดียม  อะตอมของโซเดียมในสถานะแก๊สเสียอิเล็กตรอนออกไปกลายเป็น ใช้พลังงาน  496  กิโลจูลต่อโมลอะตอมของโซเดียม เรียกพลังงานในขั้นนี้ว่า พลังงานไอออไนเซชัน


4.  การเกิดคลอไรด์ไอออน  อะตอมของคลอรีนในสถานะแก๊สรับอิเล็กตรอนที่หลุดออกจากอะตอมของโซเดียมกลายเป็น  คายพลังงาน  349  กิโลจูลต่อโมลของคลอไรด์ไอออน พลังงานในขั้นนี้เรียกว่า สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
5.  การเกิดโซเดียมคลอไรด์  โซเดียมไอออนกับคลอไรด์ไอออนในสถานะแก๊สรวมตัวกันเป็นผลึกโซเดียมคลอไรด์และคายพลังงานออกมา 787 กิโลจูลต่อโมลของโซเดียมคลอไรด์ เรียกพลังงานในขั้นนี้ว่า พลังงานโครงผลึกหรือพลังงานแลตทิซ

สมบัติของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกกับไอออนลบ เมื่อทุบผลึกของสารไอออนิกจะเกิดการเลื่อนไถลของไอออนไปตามระนาบผลึก เป็นผลให้ไอออนชนิดเดียวกันเลื่อนไปอยู่ตรงกัน จึงเกิดแรงผลักระหว่างไอออน ทำให้ผลึกแตกออก ดังรูป  2.5  เราจึงสังเกตพบว่าสารไอออนิกเปราะและแตกได้ง่าย


สภาพละลายได้ของสาร
เป็นความสามารถของสารที่จะละลายในสารอื่นจนเป็นสารละลายอิ่มตัวสภาพละลายได้ส่วนใหญ่หมายถึงการละลายของสารในน้ำ
*  การบอกสภาพละลายได้โดยทั่วไปมี ระดับคือ
    -  ละลายได้ดี หมายถึงละลายได้มากกว่า  1  กรัมในน้ำ 100กรัม
    -  ละลายได้เล็กน้อยหรือละลายได้บางส่วน หมายถึงละลายได้มากกว่า 0.1 กรัม แต่ไม่เกิน กรัมในน้ำ 100 กรัม
    -  ไม่ละลาย หมายถึงละลายได้น้อยกว่า 0.1 กรัมในน้ำ 100กรัม
                  การละลายของสารเป็นการกระจายของตัวละลายเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย ขณะที่สารเกิดการละลาย แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในตัวละลายและตัวทำละลายจะถูกทำลาย ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายกับอนุภาคของตัวละลาย


พลังงานแลตทิซ  คือพลังงานที่คายออกเมื่อไอออนบวกกับไอออนลบในสถานะแก๊สรวมตัวกันเกิดเป็นโครงผลึกส่วนการทำให้ไอออนบวกและไอออนลบในโครงผลึกหลุดออกมาเป็นกระบวนการย้อนกลับ จึงต้องใช้พลังงานเท่ากับพลังงานแลตทิซ
 

พันธะโคเวเลนต์

         พันธะโคเวเลนต์(Covalent bond) มาจากคำว่า co + valence electron ซึ่งหมายถึง พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน ดังเช่น ในกรณีของไฮโดรเจน ดังนั้นลักษณะที่สำคัญของ พันธะโคเวเลนต์ก็คือการที่อะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ ๆ
-สารประกอบที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่าสารโคเวเลนต์
-โมเลกุลของสารที่อะตอมแต่ละคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เรียกว่าโมเลกุลโคเวเลนต์
1. การเกิดพันธะโคเวเลนต์
เนื่องจาก พันธะโคเวเลนต์ เกิดจากการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน ซึ่งอาจจะใช้ร่วมกันเพียง คู่ หรือมากกว่า คู่ก็ได้
อิเล็กตรอนคู่ที่อะตอมทั้งสองใช้ร่วมกันเรียกว่า “อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ”
อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่าอะตอมคู่ร่วมพันธะ
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
จากการศึกษาสารโคเวเลนต์จะพบว่า ธาตุที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์ส่วนมากเป็นธาตุอโลหะกับอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันค่อนข้างสูง จึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่ออโลหะรวมกันเป็นโมเลกุลจึงไม่มีอะตอมใดเสียอิเล็กตรอน มีแต่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ อย่างไรก็ตามโลหะบางชนิดก็สามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับอโลหะได้ เช่นBe เกิดเป็นสารโคเวเลนต์คือ BeCl2เป็นต้น

สารประกอบโคเวเลนต์ แบ่งเป็น ประเภท
1. Homonuclear molecule (โมเลกุลของธาตุ) หมายถึงสารประกอบโคเวเลนต์ที่ในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมายึดกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น H2, O2,Br2 ,N2 ,F2 ,Cl2เป็นต้น 
2. Heteronuclear molecule (โมเลกุลของสารประกอบ) หมายถึง สารประกอบโคเวเลนต์ที่ในหนึ่งโมเลกุลประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ ชนิดขึ้นไป มายึดกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ เช่น HCl , CH4, H2O , H2SO4 ,HClO4เป็นต้น
สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์ มีสมบัติดังนี้
1. มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส เช่น
สถานะของเหลว เช่น น้ำเอทานอลเฮกเซน
สถานะของแข็ง เช่น น้ำตาลทราย (C12H22O11),แนพทาลีนหรือลูกเหม็น (C10H8)
สถานะแก๊ส เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2),แก๊สมีเทน (CH4),แก๊สโพรเพน (C3H8)
2. มีจุดหลอมเหลวต่ำ หลอมเหลวง่ายเนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่ไม่แข็งแรงสามารถถูกทำลายได้ง่าย
3. มีทั้งละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ เช่น เอทานอลละลายน้ำ แต่เฮกเซนไม่ละลายน้ำ
4.สารประกอบโคเวเลนต์ไม่นำไฟฟ้าเนื่องจากมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง และอิเล็กตรอนทั้งหมดถูกใช้เป็นอิเล็กตรอน
การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
     สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างของสารประกอบโคเวเลนต์ได้ตรงกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ไว้ดังนี้

     1.  ให้เรียกชื่อของธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของธาตุที่อยู่ด้านหลัง โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายของธาตุเป็น-ไอด์(-ide) ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
ไฮโดรเจน (H)          ออกเสียงเป็น ไฮไดรต์
คาร์บอน (C)           ออกเสียงเป็น คาร์ไบด์
ไนโตรเจน (N)          ออกเสียงเป็น ไนไตรด์
ฟลูออรีน (F)           ออกเสียงเป็น ฟลูออไรด์
คลอรีน (CI)            ออกเสียงเป็น คลอไรต์
ออกซิเจน (O)          ออกเสียงเป็น ออกไซต์

     2.  ระบุจำนวนอะตอมของธาตุไว้หน้าชื่อธาตุ โดยวิธีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุจะระบุโดยใช้ชื่อตัวเลขในภาษากรีก ดังนี้
 1     =    มอนอ (mono) 
 2     =    ได (di)
 3     =    ไตร (tri)
 4     =    เตตระ (tetra)
 5     =    เพนตะ (penta)
 6     =    เฮกซะ (hexa)
 7     =    เฮปตะ (hepta)
 8     =    ออกตะ (octa)
 9     =    โนนะ (nona)
 10   =    เดคะ (deca)
          แต่มีข้อยกเว้น คือ ไม่ต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่อยู่ด้านหน้าในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้ามีอยู่เพียงอะตอมเดียว และไม่จำเป็นต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้าเป็นธาตุไฮโดรเจน ไม่ว่าจะมีกี่อะตอมก็ตาม

ตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์                                            N2O5N                เรียกว่า          ไดโนโตรเจนเพนตะออกไซด์
N2O                   เรียกว่า          ไดโนโตรเจนมอนอกไซด์
CCI4                   เรียกว่า          คาร์บอนเตตระคลอไรด์
SO2                    เรียกว่า          ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
CO                    เรียกว่า           คาร์บอนมอนนอกไซด์
CO2                      เรียกว่า           คาร์บอนไดออกไซด์
H2S                   เรียกว่า           ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ความยาวและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์



รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์

สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
ลักษณะสำคัญของพันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
1. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เกิดกับคู่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน
2. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่มีการกระจายอิเล็กตรอนให้แต่ละอะตอมเท่ากัน
3. พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้วอาจจะเกิดกับพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะเดี่ยว เช่น Cl - Cl พันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะคู่ เช่น O = O และพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะสาม เช่น N N
4. พันธะโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้วเกิดในโมเลกุลใดเรียกว่า โมเลกุลไม่มีขั้ว (non- polar molecule)

พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
ลักษณะสำคัญของพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
1. พันธะโคเวเลนต์มีขั้วเกิดกับคู่อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกัน
2. เป็นพันธะโคเวเลนต์ที่มีการกระจายอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมไม่เท่ากัน
3. พันธะโคเวเลนต์มีขั้วเกิดในโมเลกุลใด โมเลกุลนั้นจะมีขั้วหรืออาจจะไม่มีขั้วก็ได้ แต่ถ้าพันธะโคเวเลนต์มีขั้ว เกิดในโมเลกุลที่มีเพียง 2 อะตอม โมเลกุลนั้นต้องเป็นโมเลกุลมีขั้วเสมอ
เขียนสัญลักษณ์แสดงขั้วของพันธะ
ใช้เครื่องหมาย อ่านว่า เดลตา โดยกำหนดให้ว่า พันธะมีขั้วใดที่อะตอมแสดงอำนาจไฟฟ้าลบ (เป็นอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง) ใช้เครื่องหมายแทนด้วย และพันธะโคเวเลนต์มีขั้วใดที่อะตอมแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก (เป็นอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ ) ใช้เครื่องหมายแทนด้วย เช่น HF และ ClF

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์
     เมื่ออะตอมของธาตุต่าง ๆ มีการสร้างพันธะร่วมกันจนกลายเป็นโมเลกุลโคเวเลนต์แล้ว โมเลกุลจะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันทำให้สามารถเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนของสารต่าง ๆ ได้ โดยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสมบัติต่าง ๆ ของสาร เช่น สถานะของสาร จุดเดือดและจุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้าของสาร เป็นต้น
     ในโมเลกุลโคเวเลนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโมเลกุลที่มีขั้วหรือไม่มีขั้ว ล้วนแต่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์นั้นสามารถแบ่งได้เป็น ประเภท ดังนี้
     1.  แรงแวนเดอร์วาลส์ (Van der Waals Force) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสาร ซึ่งประกอบด้วยแรง ชนิด คือ
          แรงลอนดอน (London force หรือ Disperion force)เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้ว มีแรงยึดเหนี่ยวต่ำเกิดจากอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะที่อยู่ระหว่างอะตอมมีการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ อะตอมทำให้เกิดสภาพขั้วไฟฟ้าอ่อน ๆ ขึ้นชั่วขณะ จึงทำให้โมเลกุลของสารดึงดูดเข้าหากันได้ สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวประเภทนี้จึงเป็นสารที่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ
          แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (Dipole-dipole force) เป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั้วเกิดจากขั้วบวกของโมเลกุลหนึ่งดึงดูดระหว่างขั้วนี้จะมีความแข็งแรงมากกว่าแรงลอนดอน ดังนั้นสารที่มีแรงยึดเหนี่ยวชนิดนี้จะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอน
     2.  พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่มีลักษณะคล้ายกับแรงดึงดูดระหว่างขั้ว แต่จะเกิดขึ้นในโมเลกุลของสารประกอบที่เกิดจากอะตอมของธาตุไฮโดรเจน (H) ซึ่งสร้างพันธะกับอะตอมของธาตุฟลูออรีน (F) หรือออกซิเจน (O) หรือ ไนโตรเจน (N) เนื่องจากอะตอมของธาตุเหล่านี้มีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนที่สูงกว่าอะตอมของไฮโดรเจนมาก ทำให้สามารถดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะให้เบี่ยงเบนไปจากแนวกึ่งกลางได้มาก จึงเกิดสภาพขั้วที่รุนแรงกว่ามาก ทำให้พันธะไฮโดรเจนมีความแข็งแรงยากต่อการสลายพันธะ ตัวอย่างของสารประกอบที่มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลแบบพันธะไฮโดรเจน ได้แก่ น้ำ (H2O), แอมโมเนีย (NH3เป็นต้น

พันธะโลหะ

      พันธะโลหะ (Metallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลวอะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ(period)หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้ เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวกพันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่าง อิเล็กโตรเนกาทิวิตีระหว่างอะตอม ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะ พันธะโลหะเขียนสูตรทางเคมีไม่ได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง อาจจะมีเป็นล้านๆ อะตอมก็ได้

แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน (Sea of electrons) 



การเกิดพันธะในโลหะนี้ ทำให้โลหะมีสมบัติต่างๆ ดังนี้

- นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
- มีลักษณะเป็นเงาและมีความวาวเมื่อถูกแสง
- สามารถดึงเป็นเส้น ตีเป็นแผ่น หรือบิดงอได้

การใช้ประโชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ

สมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ


จากการที่สารประกอบไอออนิกสารโคเวเลนต์และโลหะมีสมบัติเฉพาะตัวมาว่าการที่ต่างกันจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ตามความเหมาะสม เช่น
แอมโมเนียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์ เป็นสารประกอบไอออนิกที่สามารถนำไฟฟ้าได้จากการแตกตัวเป็นไอออนเมื่อละลายน้ำจึงนำไปใช้เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ในถ่านไฟฉาย
พอลิไวนิลคลอไรด์หรือ PVC เป็นสารโคเวเลนต์ที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้จึงเป็นฉนวนไฟฟ้าที่หุ้มสายไฟฟ้า
ซิลิกอนคาร์ไบด์ เป็นสารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวสูงและมีความแข็งแรงมากจึงนำไปใช้ทำเครื่องบด
ทองแดงและอะลูมิเนียม เป็นโลหะที่นําไฟฟ้าได้ดีจึงนำไปใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าอลูมิเนียมและเหล็กเป็นโลหะที่นําความร้อนได้ดีจึงนำไปทำภาชนะสำหรับประกอบอาหาร เช่น หม้อ กะทะ